วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

1.  ความหมายอินเทอร์เน็ต  อินเทอร์เน็ต (Internet)  หมายถึง กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฝดดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคม สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะต้องมีการกำหนดหรือข้อตกลงหรือวิธีการสื่อสารจึงจะต้องกำหนดหรือข้อตกลงหรือวิธีการสื่อสารจึงจะต้องกำหนดโพรโทคอลของคอมพิวเตอร์จะใช้มาตรฐานการสื่อสารที่เรียกว่า โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี   
    คอมพิวเตอร์จะมีหมายเลขไอพี (IP Address)ซึ่งประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด โดยมีจุดคั่นตัวเลขแต่ละชุดเช่น 123.456.20.3 การกำหนดใช้เลขฐานสิบในการอ้างอิงเครื่องยากในการจดจำจึงมีการกำหนดเป็นลักษณะคำภาษาอังกฤษสั้นๆ โดยแต่ละส่วนจะมีความหมายเฉพาะและคั่นด้วยครื่องหมายจุด ซึ่งเรียกว่า ชื่อโดเมน (domain name) เช่น



                                                                ตัวอย่างโดเมนเนม


2.พัฒนาการอินเทอร์เน็ต
   พ.ศ.2500  โซเวียตปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
   พ.ศ.2512  กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหารและความเป็นไปได้ในการถูกโจมตีด้วยอาวุธปรมาณูหรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้างศูนร์คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อาสรข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบและในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้จึงมีแนวคิดในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างไม่ผิดพลาด โดยช่วงแรกเป็นการพัฒนาเพื่อการสื่อสารทางการทหารและต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่องหรือสายรับส่งสัญญาณเสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกา (DOD = Department Of  Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr J.C.R Licklider ได้ทำการทดลองระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Poject Agency Network) เป็นโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นมีการนำมาใช้เพื่อการศึกษาโดยเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่งคือ มหาวิทยาลัยแคลิเฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแอนเจอลิส มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งเป็นคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันและใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน
   พ.ศ.2525 มีการพัฒนามาตรฐานในการรับและส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มยิ่งขึ้น โดยใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี ในการรับและส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้จนถึงปัจจุบัน
   พ.ศ.2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้ให้เงินทุนสร้างศูนย์ซูเปอร์ตอมพิวเตอร์ 6 แห่งและใช้ชื่อว่า เอ็นเอสเอฟเน็ต
   พ.ศ.2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานด้านการศึกษาและการค้นคว้าทางิทยาศาสตร์
   พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ติต่อขอใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยอาศัยการร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรเลียตามโครงการไอดีพี ซึ่งการเชื่อมโยงขณะนั้นใช้สายโทรศัพท์ทำให้ส่งข้อมูลได้ช้าและไม่ถาวร จากนั้นมีการรวมตัวกันของอาร์พาเน็ตและเอ็นเอสเอฟเน็ต ทำให้มีการใช้เอ็นเอสเอฟเน็ตแทนอาร์พาเน็ต ส่งผลให้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากเครือข่ายอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกันจนเกิดเป็นอินเทอร์เน็ต
   พ.ศ.2533 อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นโครงข่ายหลักของระบบได้ อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้เอ็นเอสเอฟเน็ตและเครือข่ายอื่นๆ แทน ส่วนประเทศไทยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้จัดทำเครือข่ายไทยสาร ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อของสถาบันการศึษาเพื่อจุดประสงค์หลักในการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมในเครือข่ายไทยสาร ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ตของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศไทยได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน คือ สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เละมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในปีเดียวกับที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้จัดตั้งเครือข่ายของยูยูเน็ตและได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ในปัจจุบัน
   พ.ศ.2537 ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลและผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกกันทั่วไปว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี
   พ.ศ.2538 บริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ประชาชนทั่วไปในเชิงพาณิชย์และเมื่ออินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้บริการมากขึ้นจึงเกิดบริษัทอื่นๆ เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น
   อินเทอร์เน็ตพัฒนาจากเครือข่ายที่ใช้ในงานวิจัยการขยายตัวของผู้ใช้เครือข่ายระยะแรกจึงจำกัด ต่อมามีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น เช่น
   พ.ศ.2513 เริ่มมการใช้อีเมลเป็นครั้งแรก
   พ.ศ.2516 เริ่มมีการสนทนาผ่านบีบีเอส ซึ่งเป็นการสนทนาผ่านโปรแกรมเทอร์มินอล โดยผู้ใช้ต่อเข้ามาที่เครื่องบริการ เพื่อสนทนา ฝากข้อความหรือส่งอีเมลถึงกัน
   พ.ศ.2531 เริ่มมีการใช้รูปแบบการสนทนาผ่านเครือข่ายในลักษณะที่ผู้ใช้ต่อเข้ามาที่เครื่องบริการเพื่อสนทนาในห้องคุยที่มีอยู่ในระบบตามความสนใจเรียกว่า ไออาร์ซี
   พ.ศ.2534 มีการคิดค้นการให้บริการข้อมูลผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ โดยใช้เว็บเบราเซอร์ในการใช้และเข้าถึงข้อมูล หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มเห็นความสำคัญ และเข้าร่วมการใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต
   พ.ศ.2539 เริ่มมีการสนทนาผ่านเครือข่ายแบบระบุผู้สนทนาได้โดยตรง เรียกว่า การส่งข้อความทันทีหรือ แชท
3.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
สปริง เน้นตลาดแอพฯข้ามแพลตฟอร์ม รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการ หวังเป็นกรุ๊ปแชตที่ดีที่สุด
นายสุชิน รัตนศิริวิไล ประธานบริษัท สปริง เทเลคอม เปิดเผยว่า โทรศัพท์มือถือรุ่น สมายด์ ของสปริง ได้รับการยอมรับทั้งตัวเครื่องและแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัย มีผู้ใช้จำนวนมากดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ไปใช้งานจากหลากหลายอุปกรณ์
ดังนั้น สปริงจะเป็นบริษัทคนไทยที่ผลิตแอพพลิเคชั่นร่วมทำงานกับฮาร์ดแวร์ของทุกค่าย และเชื่อมต่อกับทุกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต โดยจะเน้นการเป็นกรุ๊ปแชตที่ดีที่สุด หรือ  A Better Group Messenger ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
นโยบายของสปริงต่อการพัฒนาแอพ พลิเคชั่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะต้องเป็นโปรแกรมที่เชื่อมการทำงานทุกแพลตฟอร์ม ทุกคนสามารถคุยกันได้ผ่านเครือข่ายโดยไม่มีขีดจำกัด การหาเพื่อนใหม่จะง่ายดาย เชื่อมต่อกับทุกโซเชียลมีเดีย  โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงดึงภาคธุรกิจการค้ามาให้สิทธิประโยชน์กับผู้ใช้โปรแกรม โดยเน้นความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
นายยุคลอาจ ชาญพานิชกิจการ รองประธานฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท สปริง เทเลคอม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสปริง โดยเฉลี่ยจะใช้งานประมาณวันละ
8 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มกิจกรรมที่มีการใช้งานในแต่ละวันกว่า 2,000 กลุ่ม ทำให้การทำธุรกรรมผ่านสปริง มีมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อวัน หากสปริงเปิดการทำงานในทุกระบบปฏิบัติการ ทั้งแอนดรอยด์  ไอโอเอส  บีบี ไอแพด วินโดว์สโมบาย รวมถึงการทำงานผ่านเว็บในคอมพิวเตอร์ปกติ ที่จะทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีแต่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ก็จะทำให้การใช้งานของสปริงเพิ่มมากขึ้น

ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ จะเปลี่ยนแปลงหน้าตาการตอบโต้ หรือยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซ แบบใหม่ ใช้งานง่ายกว่าเดิม จุดเด่นอยู่ที่กรุ๊ปแชต รองรับสมาชิกภายในกลุ่มและยังเลือกกลุ่มได้หลากหลาย  
อ้างอิง http://www.slideshare.net/patchu0625/ss-38606778